Blue Fire Pointer

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หลักการและเหตุผล
       โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เกิดขึ้นจากการใส่พระทัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อเกษตรกรในพื้นที่ ในการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้ประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน   ในปี พ.ศ.2552 พระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  ซื้อที่ดินจากราษฎรที่บ้านหนองคอไก่  ตำบลเขากระปุก  อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิดในเขตจังหวัดเพชรบุรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงสนองพระราชดำริ โดยจัดทำโครงการต้นแบบในการปลูกพืชผัก  พืชไร่  และไม้ผล  จำนวน 10 โครงการ สำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เงินทุน 100,000 บาท และ พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เงินทุน 50,000  บาท ซึ่งเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาดูงาน สามารถนำไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนเองตามความเหมาะสม


วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560



จุดเริ่มต้นของโครงการชั่งหัวมันและสถานที่ตั้ง
       ตั้งอยู่ใน อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ 120 ไร่ และต่อมาปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมดเป็น 250 ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตรรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ ซึ่งเดิมที่ดินบริเวณนี้มีความแห้งแล้งมาก และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา

      พร้อมกันนี้ได้มีชาวบ้านนำมันเทศที่ปลูกมาทูลเกล้าฯ ถวายจึงได้ทรงมีพระราชดำริให้ปลูกแปลงทดลองมันเทศในที่ดินส่วนนี้ แต่เมื่อเสด็จกลับมิได้ทรงนำมันหัวนั้นไปด้วย ครั้นพระองค์เสด็จกลับมาอีกครั้งทรงพบว่ามันหัวนั้นงอกเป็นต้น จึงมีพระราชดำรัสว่า "มันอยู่ที่ไหนก็งอกได้" จึงมีพระราชดำริให้จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยเน้นที่พืชท้องถิ่นของเพชรบุรี เช่น มะพร้าว, ชมพู่เพชร, มะนาว, กะเพรา, สับปะรด, ข้าวไร่พันธุ์ต่าง ๆ และพระราชทานพันธ์มันเทศ ซึ่งนำมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งภายในห้องทรงงานที่วังไกลกังวล ให้นำมาปลูกไว้